บทที่ 1 งานบ้าน

วัตถุประสงค์
๑.สามารถบอกขั้นตอนการทำงานบ้านกับสมาชิกในครอบครัวได้
๒.สามารถอธิบายการจัดการงานบ้านอย่างเป็นระบบได้
๓.สามารถอธิบายการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่าได้


บทที่ ๑ งานบ้าน

รูปที่ ๑

๑.การทำงานกับสมาชิกในครอบครัว
    การทำงานบ้านเป็นกิจกรรมที่สมาชิกในครอบครัวได้ทำงานร่วมกัน ช่วยทำให้บ้านสะอาดเรียบร้อย น่าอยู่อาศัย
-ลักษณะงานบ้านที่สมาชิกทุกคนในครอบครัวต้องช่วยกันทำ แบ่งได้ ๒ ลักษณะดังนี้
   ๑.งานบ้านที่ได้รับมอบหมาย หมายถึง งานที่หัวหน้าครอบครัวหรือผู้ปกครองมอบหมายให้สมาชิกแต่ละคนในครอบครัวทำ
   ๒.งานบ้านที่ไม่ได้รับมอบหมาย หมายถึง งานที่สมาชิกในครอบครัวช่วยทำด้วยความสมัครใจ หรือช่วยทำแทนสมาชิกในครอบครัว
-มารยาทในการทำงานกับสมาชิกในครอบครัว
   ๑.มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
   ๒.ให้ความช่วยเหลือหรือทำงานแทนสมาชิกใน      ครอบครัว
   ๓.รู้จักให้อภัยซึ่งกันและกัน เมื่อเกิดความผิดพลาดในการทำงาน
-ประโยชน์ของการทำงานบ้านร่วมกับสมาชิกในครอบครัว
   ๑.บ้านสะอาดเรียบร้อย น่าอยู่อาศัย
   ๒.สมาชิกในครอบครัวมีเวลาทำกิจกรรมร่วมกัน

รูปที่ ๒

๒.การจัดการงานบ้านอย่างเป็นระบบ
    เป็นกระบวนการทำงานบ้านตามลำดับขั้นตอน ซึ่งสามารถสั่งงาน ติดตาม ควบคุม และตรวจสอบการทำงาน จนมีคุณภาพ
-กระบวนการทำงานบ้าน
   ๑.การวางแผนการทำงานบ้าน เป็นการกำหนดงานที่จะทำ เป้าหมายของงานที่จะทำ วิธีการทำงาน วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน
   ๒.การทำงานบ้านตามแผนที่วางไว้ เป็นการทำงานบ้านตามแผนที่กำหนดไว้ซึ่งจะช่วยลดความสับสน
   ๓.การประเมินผลงาน เป็นการตรวจสอบงานที่ทำมีข้อบกพร่องหรือไม่ ถ้ามี ต้องปรับปรุงให้ดีขึ้น
-แผนการทำงานบ้านที่ดี
   ๑.เรียงลำดับความสำคัญของงาน ว่างานใดสำคัญเป็นอันดับแรก
   ๒.ระบุวันเวลาและกิจกรรมในแผนงานอย่างละเอียด
   ๓.ระบุผู้รับผิดชอบในแต่ละงาน
-ทักษะการจัดการงานบ้าน
    ทักษะการจัดการ หมายถึง ความพยายามของบุคคลที่จะจัดระบบงาน ในการทำงานเป็นรายบุคคล
และจัดระบบคนในการทำงานเป็นกลุ่ม
    ทักษะการจัดการงานบ้าน จึงเป็นการทำงานบ้านด้วยตนเองเพียงคนเดียวหรือการทำงานบ้านร่วมกับสมาชิกในครอบครัวอย่างเป็นระบบ และประณีต

รูปที่ ๓

๓.จิตสำนึกในการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า
   จิตสำนึกในการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า หมายถึง ความเข้าใจถึงสาเหตุหรือเหตุผลของการประหยัด การร่วมมือกันเพื่อรักษา ควบคุม ดูแล หาวิธีการใช้พลังงานและทรัพยากรที่มีอยู่ให้เหมาะสม และเป็นไปตามความจำเป็น

อ้างอิงหนังสือ
สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) สำนักพิมพ์ บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด
ภาพที่ ๑
https://goo.gl/images/xtNRhN
ภาพที่ ๒
https://goo.gl/images/9Bv23U
ภาพที่ ๓
https://goo.gl/images/vhb19q

ความคิดเห็น